H&R สปริงโหลด (lowering spring) ฮอนด้า ซิตี้ HONDA City 1.3, 1.5 TypeZ ปี 1995

฿4,990.00

กระบวนการออกแบบและผลิต สปริงโหลดเตี้ย H&R
การออกแบบเริ่มจาก ผู้ที่รักรถและเข้าใจถึงความต้องการ วิศวกร H&R จะคำนึงถึงความต้องการนี้ และถือเป็นสิ่งที่ต้องการพิจารณาอย่างยิ่ง ในการออกแบบ สปริงชุดต้นแบบ ชุดสปริงต้นแบบจะถูกทดสอบอย่างหนักหน่วง และ วิเคราะห์การทำงานกับชิ้นส่วนช่วงล่างรถยนต์ที่เคลื่อนตัวระหว่างรถแล่น สิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับการพัฒนานี้รวมไปถึง ความสูงของรถ และ อัตราการสั่นของสปริง ซึ่งเป็นผลมาจากลักษณะการควบคุมรถของช่วงล่างเดิม ข้อจำกัดของระบบกันสะเทือนเดิม ยางล้อ และ บังโคลนจะต้องออกแบบให้ดีเมื่อได้แบบที่ลงตัวแล้วจึงเริ่มวางแผนการผลิต เพื่อให้ได้สปริงคุณภาพสูงได้นั้นต้องใช้วัสดุที่เหมาะในการทำสปริง หรือค่าความยืดหยุ่นของเส้นลวด H&R สปริงใช้เส้นลวด Bekaert คุณภาพสูงของประเทศเบลเยี่ยม สำหรับสปริงขนาดไม่เกิน 16mm. จะเป็นโครเมี่ยมซิลิคอน หาก สปริง 17mm. ขึ้นไปจะเป็นโครเมี่ยม-วานาเดียม การที่เจาะจงใช้ลวด Bekaert เพราะได้พิสูจน์แล้วว่ามีความคงทนสูงกว่าลวดชนิดอื่นๆ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาระหว่างำการใช้งานตลอดอายุของสินค้า
สปริง H&R เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราณีต สร้างชื่อเสียงมานานปีด้วยเทคโนโลยี ทันสมัย หลังจากการขดสปริงด้วยเครื่องแล้ว สปริงจะถูกทำให้ร้อน ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะสปริงได้มาจากการให้ความร้อนสูงจนได้รูปตามต้องการ เป็นกระบวนการแบ่งแยกโมเลกุลของลวด หากได้รับความร้อนมากเกินไปสปริงจะสูญเสียความยืดหยุ่น ของH&R จะผลิตแตกต่างออกไปคือ ได้รับความร้อนโดยฉับพลัน หลังจากขั้นตอนการทำให้อ่อนตัว จะถูกนำไปเจียร์แต่ง ขั้นตอนต่อมา จะทำการพ่นผงโลหะขัดละเอียด คือการทำงานบนผิวของสปริง เพื่อขจัดความไม่สมบูรณ์ของผิวสปริง ผ่อนคลายแรงเค้นภายใน มีเพียงผู้ผลิตสปริงคุณภาพเท่านั้นที่จะใช้เทคนิคพ่นโลหะผงละเอียดนี้ ขั้นตอนต่อไปคือ วางในแม่พิมพ์ สปริงจะถูกกดจนขดลวดชิดกัน ซึ่งทำให้ได้รูปสปริงแบบถาวร ไม่ทรุดตลอดอายุการใช้งาน ต่อไปก็เข้าสู่ขั้นตอนการเคลืบสี จะต้องเคลือบด้วยสังกะสีฟอสเฟต รองพื้นก่อน แห้งแล้วจึงเคลือบด้วย อีพ็อกซี่ ที่ไม่หนาเกินไปเพื่อไม่ให้กระเทาะและเกิดสนิม ต่อจากเคลือบสีคือ อบ หลังจากนั้นจะถูกทดสอบด้วยการฉีดด้วยน้ำเกลืออุ่น หากสปริงไม่ได้รับการเคลือยรองพิ้นที่ดี จะเป็นสนิมภายในไม่เกิน 120 ช.ม. จากนั้นจึงได้รับการบรรจุลงกล่อง จำหน่าย